วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

Record 4 Tuesday 1 September 2015


งดการเรียนการสอน
    เนื่องจากทางคณะศึกษาศาสตร์มีการจัดโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ ในวันที่ 1 กันยายน 2558 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคาร 28 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ช่วงเช้าฟังบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง "ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"บรรยายโดย อ.ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล
 
 
 

 Knowledge







การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 3R  7C
3R คือ
- Reading (อ่านออก)
- (W) Riting (เขียนได้)
- (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)




สรุป การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม "สาระวิชา" ไปสู่การเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL ( Problem-Based Learning)ของนักเรียนซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ 
 
 
 

 กิจกรรมช่วงบ่าย 
ชมการแสดงและการจัดนิทรรศการของแต่ละเอก

 การจัดงานในวันนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้
เช่นหลักในการทำโครง รูปแบบขั้นตอนวิธีการต่างๆในการดำเนินกิจกรรม เป็นต้น
ทักษะ (Skill)
บรรยายโดยมี Power porint ประกอบการบรรยายและอธิบายเนื้อหาจากประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทำให้การบรรยายเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การนำไปใช้ (Application)
สามารถนำความรู้มาใช้เพื่อพัฒนาตนเองและเป็นแนวทางให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเท่าทันโลกแห่งยุคศตวรรษที่ 21


 ประเมินสภาพห้องเรียน (The atmosphere in the classroom)
ภายในห้องเรียนมีบรรยากาศเย็นสบาย ห้องเรียนสะอาด แต่อุปกรณ์ในการสือค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานหรือเรียน
 
ประเมินตนเอง (Self-Assessment)   
มาร่วมงานตรงเวลาเข้าฟังการอบรมตั้งแต่เริ่มจนจบด้วยความตั้งใจไม่พูดคุยกันขณะฟังการบรรยาย
        

ประเมินเพื่อน (Rating friends)                

เพื่อนให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมตั้งใจในการฟังบรรยายแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย

Record 3 Tuesday 25 August 2015

 
 
Knowledge

-อาจารย์ได้แนะนำวิธีการจัดทำblogger ให้ถูกต้องสวยงามตามวิธีให้ดูง่ายขึ้น 
ข้อมูลที่ความใส่และสิ่งที่หน้าสนใจในการตกแต่ง

-อาจารย์ได้พานักศึกษาไปค้นคว้าหาความรู้ที่ห้องสมุดโดยให้ไปหาความรู้หนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทีสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้   

                         เรื่องที่ 11 บทที่ 14 เรื่องเสียง  (Sounds) 
                               (คู่กับ จงรักษ์ หลาวเหล็ก)





บทนี้เกิดขึ้นจะกล่าวถึงความคิดรวบยอดต่อไปนี้

1.เสียงเกิดขึ้นเมื่อมีการสั่นสะเทือนของของบางอย่าง
2.เสียงเดินผ่านตัวกลางหลายอย่าง
3.สิ่งที่สั่นสะเทือนซึ่งมีขนาดต่างกันทำให้เกิดเสียงต่่างกัน









กิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเข้าใจความหมายของคำว่า การสั่นสะเทือน และทำให้เกิดความคิดว่าการสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงจากนั้นจะเป็นกิจกรรมที่เกียวกับการสั่นสะเทือนการทดลองที่กับการที่เสียงเดินทางผ่านและระดับสูง-ต่ำของเสียงที่เปลี่ยนไปตามขนาดสิ่งที่สะเทือน
การสั่นสะเทือน กริยาของมือที่ทำอยู่เช่น การสั่น สะบัด เขย่า พลิกไปพลิกมา


                                        ความคิดรอบยอด

  ความคิดรอบยอด : เสียงเกิดขึ้นเมื่อมีการสั่นสะเทือนของของบางอย่าง

1.เวลาที่เราเห็นของบางอย่างสั่นสะเทือนนั้นเกิดอะไรขึ้น
จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้รู้ความหมายของคำว่า การสั่นสะเทือน โดยการทดลองทำการสังเกต

2.ขณะที่เรารู้สึกว่ามีการสั่นสะเทือนนั้นเกิดอะไรขึ้น 
จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้รู้ความหมายของคำว่า การสั่นสะเทือน โดยการทดลองทำการสัมผัส

ความคิดรอบยอด : เสียงเดินทางผ่านตัวกลางหลายอย่าง

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าเสียงเดินทางผ่านอากาศ
   จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้เห็นว่าการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้อากาศสั่นสะเทือน เพื่อให้เห็นเดินทางผ่านอากาศ 
2. เรารู้ได้อย่างไรว่าเสียงเดินทางผ่านทางน้ำ    

 จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้ทราบการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้น้ำสั่นสะเทือนเพื่อให้เสียงเดินทางผ่านน้ำ
3.เรารู้ได้อย่างไรว่าเสียงเดินทางผ่านทางของแข็ง
จุดประสงค์การเรียนรู้:เพื่อให้ทราบการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้ของเสียงทำให้ของแข็งสั่นสะเทือน เพื่อให้เสียงเดินทางผ่านแข็ง

4.เชือกให้เสียงเดินทางผ่านได้อย่างไร
 จุดประสงค์การเรียนรู้ :  เพื่อให้ทราบการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้เชือกที่ตึงสั่นสะเทือนทำให้เสียงผ่านได้

ความคิดรอบยอด ; การสั่นสะเทือนจากวัตถุที่มีขนาดต่างกันจะทำให้เกิดเสียงที่ต่างกัน
1.ความสั้นยาวของเชือกที่สั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันอย่างไร
จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้ได้ยินระดับเสียงสูงต่ำที่แตกต่างกันตามขนาดความสั้นยาวของเชือกที่สั่นสะเทือน

2.ขนาดสั้นยาวของท่ออากาศศที่สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันอย่างไร
จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้ได้ยินระดับเสียงสูงต่ำที่แตกต่างกันตามขนาดความยาวของเชือกที่อา
กาศสั่นสะเทือน


                                           กิจกรรมบูรณาการ


กิจกรรมการเล่น
โทรศัพท์ที่ทำจากกระป๋องจะทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น







 กิจกรรมการฟังจับคู่เสียง  หาของที่ทำให้เกิดเสียงโดยจัดมาหาไว้เป็นคู่ๆ เช่น ขดลวดที่ทำเสียงเป็น จิ้งหรีด
ถาดใส่เสียงเหมือน   เป็นการนำกิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสมาใช้แบบมอนเตสเชอรี่  มาปรับใช้ ที่เขย่าทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน เช่น กรวด ทราย เป็นต้น




 ทักษะ (skill)-การสืบค้นหาข้อมูลในห้องสมุด ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
-ทีสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
  



        
การนำไปใช้ (Adoption)
โดยใช้การบรรยายงานใน ( library:ห้องสมุด) ให้เกิดความคิดและกระบวนการนำไปใช้ ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

ประเมินสภาพห้องเรียน (The atmosphere in the classroom)
      
       ภายในห้องเรียนมีบรรยากาศเย็นสบาย ห้องเรียนสะอาด



ประเมินตนเอง (Self-Assessment)
    
       เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสะอาดเรียบร้อย  มีความพร้อมในการเรียน



ประเมินเพื่อน (Rating friends)
    







       ตั้งใจเรียน ฟังคำแนะนำจากอาจารย์และค้นคว้าหาหนังสือเพื่อรวบวมข้อขูลใส่บล้อค

  



 



ประเมินอาจารย์ (Instructor Rating)

       เตรียมเอกสารและแนะนำรายวิชาได้อย่างละเอียดและมีความเข้าใจง่าย  มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ