วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Record 1ุ6 Tuesday 17 November 2015


Record 1ุ6

นำเสนอ บทความ โทรทัศน์ครู และวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


นางสาวชนาภา  คะปัญญา  เลขที่3  
บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ

 การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้ 
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  ของตนเองอย่างเหมาะสม 
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์



นางสาว รัชดา   เทพรียน เลขที่ 5
เรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  
เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย 
     การเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู  สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546   เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ




นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4
เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร
       การแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้


นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2
วิจัย  ชื่อการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย

โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมติฐาน 

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง

กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน 
ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

วิธีดำเนินการวิจัย
1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง
 เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย
     จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

นางสาวปัณฑิตา คล้ายสิงห์ เลขที่ 10
สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ปริญญานิพนธ์ของ สุมาลี หมวดไธสง
มหาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีพ.ศ. 2554


ความสำคัญของงานวิจัย
เป็นการเผยเพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกกรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ ได่้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตาม  ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1.การจัดหมวดหมู่
2.2.การหาความสัมพันธ์

ระยะเวลาการวิจัย
การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00-10.40 น. โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2.นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3.ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้กิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที

สรุปผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของ ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบานการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

นำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8

เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์
เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน

 ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม 
ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น 
เมื่อคุณครูโยน ปรากฎว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม

- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่น
จากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

Record 15 Tuesday 21 November 2015

Record 15

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558 

(National Science and Technology Fair)




knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)

ของเล่นกับพัฒนาการเด็กไทย ของเล่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเล่น ๆ ของ เล่น” นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและพัฒนาร่างกาย สมองส่วนต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก ๆนอกจากการ เล่นของเล่นจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีเบิกบานแล้ว การเล่นของเล่นยังช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ และฝึกทักษะในการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 

ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่น
1. การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความคิดความรู้สึกของตน เช่น การวาดภาพ
2. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่กำหนดให้
3. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบ
4. การสร้างสรรค์หลักการแนวคิดใหม่ๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้นเช่นระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ

สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์

1.หมุนพาเพลิน  (Spin for fun)




ปั่นลูกข่างสร้างด้วยมือหรือใช้เชือก เหวี่ยงลูกข่างสร้างมูลที่มีแกนกลางขนาดเล็กตัวลูกข่ามีน้ำหนักมากทำให้มีความเฉื่อยจึงหมุนได้นานและขณะหมุนเกิดแรงที่ตั้งกับทิศทางหมุนจึงทำให้ลูกค้าข่างส่งตัวอยู่ได้


2.หยุดไม่อยู่ (Unstopable)ทำไมกำหมุนจึงหมุนอย่างต่อเนื่อง



เมื่อเราดึงเชือกที่ยึดติดกับแกนกลางใบพัดจะทำให้ใบพัดหมุนเมื่อปล่อยมือใบพัดจะหมุนอย่างต่อเนื่องเพราะความเฉื่อยเมื่อดึงแล้วผ่อนเป็นจังหวะใบพัดจากเคลื่อนที่ต่อเนื่องตลอดเวลาซึ่งเกิดจากพลังงานความเฉื่อยนั่นคือการที่วัตถุรักษาสภาพการหมุนอย่าง ต่อเนื่องหลักของการกรรมมูลนี้ใช้หลักเดียวกันกับการปั่นจักรยานแล้วปล่อยให้รอหมุนโดยไม่ต้องถีบแต่จักรยานก็จากเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้สักพักโดยไม่ต้องถีบ


3.ความลับของแรงโน้มถ่วง(A secret of gravity)



นกบินและปลาว่ายน้ำเคลื่อนที่ลงมาได้อย่างไรแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่โลกดึงดูดวัตถุด้วยความเร่งเท่ากัน
 
(9.8 เมตร/วินาที)นกบินและปลาว่ายน้ำตกลงมาแต่มีแรงเสียดทานระหว่างเส้นเอ็นกับปากนกและปลาทำให้ตกช้าลง จึงคล้ายกับนกยินแบะปลาว่ายน้ำ



4.ดึ๋งดั๋งพลังสปริง (Bouncy spring)




นกบินและปลาว่ายน้ำเคลื่อนที่ลงมาได้อย่างไรแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่โลกดึงดูดวัตถุด้วยความเร่งเท่ากัน
(9.8 เมตร/วินาที)นกบินและปลาว่ายน้ำตกลงมาแต่มีแรงเสียดทานระหว่างเส้นเอ็นกับปากนกและปลาทำให้ตกช้าลง จึงคล้ายกับนกยินแบะปลาว่ายน้ำหนอนดินและหนูกะลาวิ่งได้อย่างไรเมื่อดึงเชือกหนอนดินและหนูกะลาหนังยางจะบิดเป็นเกลียวทำให้หนอนและหนูวิ่งไปข้างหน้าเมื่อผ่อนเชือกหนังอย่างจะคลายตัวแล้ววิ่งถอยหลังการบิดเป็นเกลียวของหนังยางเป็นหลักการเดียวกันของการทำงานของเกี่ยวสปิงคือเมื่อสปิงหดตัวจะเก็บพลังงานไว้เรียกว่า พลังงานศักย์เมื่อสปิงขายตัวจากเปลี่ยนเป็นพลังงานในการเคลื่อนที่ที่เรียกว่า พลังงานจลน์

5.จักจั่นจึงเกิดเสียง


ทำไมแค่เหวี่ยงจักจั่นจึงเกิดเสียงเสียงของจักจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสี
กับยางสนปลายแกนไม้ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษแล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงสั่นด้วยความถี่ที่เท่ากันกับการวิจารณ์ของเชือก
เสียงจะเป็นอย่างไร  *ถ้าไม่มีกระบอก   *เสียงกระบอกขนาดต่างกัน


6.แรงยกจอมพลัง(Powerful force)


คอปเตอร์ไม้ไผ่และกำหมุน ลอยได้อย่างไรใบพัดของคอปเตอร์ไม้ไผ่แล้วกำหมุนบินออกแบบเป็นเกลียว
อีกด้านเชิดขึ้นอีกด้านจะเชิดลงคล้ายเกลียวเมื่อใบพัดหมุนใบทั้งสองด้านจัดการอากาศลงเกิดแรงยกตัว เหมือนกับการยุบตัวของใบพัดเฮลิคอปตอร์เครื่องบินและว่าวที่ออกแบบให้ปีกเอียง

 ***ขึ้นหรือลง        *ถ้าหมุนกลับทิศ  *ถ้าเอาใบพัดอยู่ข้างล่าง



Record 14 Tuesday 17 November 2015

Record 14 

Cooking ขนมโค ข้าวจี่ หวานเย็น





อุปกรณ์การทำขนมโค ( Equipment )
แป้งข้าวเหนียว
  1. น้ำเปล่า
  2. น้ำตาลแว่น หรือไส้
  3. มะพร้าวทึกขูด 
  4. หม้อต้ม
  5. สีผสมอาหาร

ขั้นตอนการทำขนมโค


1. ตักแป้งใส่ถ้วย 3 ช้อนโต้ะ จากนั้นเทสีผสมอาหาร จากนั้นคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2. นำไส้มาใส่โดยไส้ที่เตรียมไว้มีทั้ง น้ำตาลก้อน ไส้เค็มและไส้หวาน
3. ไส้เสร็จก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เเละนำไปสู่ขั้นตอนต้มโดยใส่ลงไปในหม้อที่น้ำเดือด
4. เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเเป้งก็จะลอยขึ้นมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าขนมสุกเเล้ว
พร้อมโรยมะข้าวเป็นอันเสร็จสิ้นน่ารับประทาน


กระบวนการวิทยาศาสตร์การทำขนมโค

กำหนดปัญหา - จะทำอย่างไห้แป้งกินได้
ตั้งสมมติฐาน - ถ้าเอาแป้งลงเตาจะเกิดอะไรขึ้น แล้วรวบรวมข้อมูล
ทดลองและสังเกต - การเปลี่ยนแปลงของสี ขนาด 
สรุป - ว่าแป้งที่ลอยขึ้นแสดงว่าสุกและตักขึ้นมาคลุกกับมะพร้าวพร้อมรับประทาน

_______________________________________________



อุปกรณ์การทำข้าวจี่ ( Equipment )


  • ข้าวเหนียว (rice)
  • ไข่ไก่ (egg)
  • ไก่หยอง 
  • ซอสปรุงรส 
  • ไม้เสียบข้าวจี่ 
  • ถ้วย ( Cup )
  • จาน ( Stove )



  • ขั้นตอนการทำข้าวจี่ 

    1.นำข้าวเหนี่ยวมาใส่ไส้จากนั้นก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆเเล้วใช้ไม้ตะเกียบเสียบเข้าไปตรงกลาง 
    2.จากนั้นนำไปย่างบนเตาเมื่อสีข้าวเริ่มเปลี่ยน
    3.นำไปชุปกับไข่เเล้วนำมาย่างอีกทีเพื่อให้ไข่สุก 
    4.ข้าวจี่สุกเหลืองกลิ่นหอมสีสันน่ารับประทาน


    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์การทำข้าวจี่

    กำหนดปัญหา - เด็กคิดว่าจะทำอย่างไรให้ไข่สุก
    ตั้งสมมติฐาน - ถ้าเด็กๆนำไปปิ้งจะเป็นอย่างไร
    ลงมือทดลอง - โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่น
    สรุป - เมื่อข้าวและไข่สุกกลายเป็นข้าวจี่

    __________________________________________________




    อุปกรณ์การทำหวานเย็น ( Equipment )
    1. น้ำแข็ง
    2. น้ำหวานเฮลบลูบอย / น้ำส้ม / น้ำเขียว 
    3. นมข้น
    4. เกลือ
    5. ไม้พายสำหรับคน
    6. กาละมังเล็ก
    ขั้นตอนการทำ

    1.ตักน้ำเเข็งใส่กาละมังใหญ่พอสมควรเเละเติมเกลือลงไป
    จากนั้นถ้วยเล็กก็ใส่น้ำหวาน 
    2.เขย่าไปกันคนละทางบนถ้วยน้ำเเข็งพร้อมทั้งคนไปทิศทางเดียวกัน
    3.เวลาผ่านไปน้ำหวานที่เหลวๆก็จะ
    ค่อยๆเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำเเข็งเเละจับตัวกัน
    เป็นเหมือนน้ำเเข็งไสสีสันน่าทาน


    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์การทำหวานเย็น

    กำหนดปัญหา - ทำอย่างไรให้น้ำหวานเป็นหวานเย็น 
    ตั้งสมมติฐาน - เด็กๆลองคนสิจะเกิดอะไรขึ้น 
    ทดลงและสังเกต - การเปลี่ยนแปลงของน้ำหวานกลายเป็นหวานเย็น


    _______________________________________________


    นางสาวกมลรัตน์ มาลัย นำเสนอโทรทัศน์ครู
    เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
    เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การวิเคราะห์ การสื่อความหมาย การตั้งสมมติฐาน โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง ให้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทดลองเพื่อหาว่าอะไรลอยได้บ้าง



    Skills (ทักษะ)

    1. ทักษะที่ได้รับการสังเกต เด็กได้สังเกตว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างสังเกตการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับสีของข้าวmการเปลี่ยนเเปลงของหวานเย็น การเปลี่ยนแปลงของขนมโค
    2. การจำเเนก เปรียบเทียบ
    3. การวัด เด็กได้รู้จักการตวงส่วนผสมควรใช้สัดส่วนเท่าไหร่
    4. การลงความเห็น  เด็กชอบสีหวานเย็นสีไหนมากที่สุด  ชอบกินขนมโคไส้ไหนมากที่สุด ชอบกินข้าวจี่เเบบใส่ไส้หรือไม่ใส่ไส้มากกว่ากัน
    5. มิติสัมพันธ์ คำนวนเวลาว่าควรใช้เวลาเท่าไหร่ข้าวจี่เเละขนมโคถึงจะสุกเเล้วน่าทานเเละเขย่าน้ำหวานนานเเค่ไหนถึงจะเป็นหวานเย็น
    6.  การคำนวน คำเวลาว่าควรจะกลับด้านวลาไหน ปิ้งเเต่ละข้างนานเท่าไหร่



    Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)



    1.เกิดได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น การตักส่วนผสม 
     

    2.การเเก้ปัญหาด้วยตนเอง ว่าควรจะมีวิธีการอย่างไรให้ได้ข้าวจี่ ขนมโค หวานเย็น
    3. เกิดความรสชาติที่อร่อยและรูปร่างสวยงาม
    ฝึกได้เด็กรู้จักการสังเกตจากเพื่อนว่าเพื่อนทำอย่างไรเเละนำมาปรับปรุงของตนเอง

    Assessment (การประเมิน)


    ตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำคือการจัดกิจกรรม

    เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา  และตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สนุกสนานกันในการเรียนวิชานี้

    อาจารย์ : อาจารย์ติดธุระทางสาขา การเเต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนทำCooking มีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมเเละเพียงพอขณะที่ทำกิจกรรมด้วย วันนี้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรม

    ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา