วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Record 12 Tuesday 3 November 2015


Record 12 

 knowledge 

     เเต่ละกลุ่มนำมายแมปปิ้งตามหน่วยต่างๆมาแปะไว้ที่หน้าห้องวิเคราะห์แผนจัดประสบการณ์การทดลองวิทยาศาสตร์และการทำอาหารของแต่ละหน่วย
1. หน่วยยานพาหนะ
2. หน่วยร่างกายของฉัน
3. หน่วยชุมชนของฉัน
4.หน่วยต้นไม้แสนรัก
5. หน่วยน้ำ 
       จากนั้นต่อด้วยแผนการทดลอง เเละแผนcooking  จากนั้นอาจารย์เเละเพื่อนในห้องก็ร่วมกันเสดงความคิดเห็นเพื่อให้เเผนของเเต่ละกลุ่มเกิดความสมบูรณ์มากขึ้นโดยวิเคราะห์ตามหัวข้อหลักๆ เช่น ประเภท ลักษณะ การดูแลรักษา ข้อควรระวัง ประโยชน์ จากนั้นอาจารย์ก็มาวิเคราะห์เเผนของเเต่ละกลุ่มส่วนที่ต้องปรับแก้แผนการทดลอง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ ทักษะทางวิทยาสตร์





2.skills (ทักษะ)

      ปรับแก้แผนของกลุ่มตนเองการเลือกใช้คำเเละสิ่งที่จะนำมาเขียนในเเผน
ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตอบคำถามแสดงความคิดเห็น
ในการช่วยกันปรับแก้หรือเพิ่มเติมลงเเผนของเเต่ละกลุ่ม



3.Apply(การประยุกต์ใช้)
         นำแผนสิ่งที่อาจารย์วิเคราะห์ไปรบแก้แผนของตนเองการคิดวิเคาระห์แผนให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นในการเขียนแผนเเต่ละหัวข้อ แผนที่ปรับแก้ไปทำเป็นเอกสารเพื่อเป็นเเนวทางในการนำไปสอนในอนาคตนำข้อความบางอย่างของกลุ่มเพื่อนมาเป็นเเนวทางปรับปรุงแผนของเราให้ดีมากยิ่งขึ้นสามารถนำแผนที่เขียนไปสอนเด็กได้เเละเด็กข้าใจได้ง่าย




4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
      ให้นักศึกษารู้จักสังเกตุหรือปรับแก้งานข้อแตกต่างของตนเองจากกลุ่มเพื่อนการลงความคิดเห็นเเละตกลงกันว่ากลุ่มไหนที่จะจับคู่กันสอนในการทำกิจกรรม cooking ในแต่ละฐาน






5. assessment (ประเมิน)
ตัวเอง          แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม ระดมความคิด และ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกในขณะเรียน

เพื่อน           แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาเพื่อนๆช่วยกันระดมความคิด ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ    
อาจารย์       เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาอธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่ายวิเคราะห์แผนการสอนที่ถูกต้องเพิ่มเติมแนวทางในการเขียนแผนที่สามารถบูรณาการได้หลากหลายและถูกต้อง
ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา
  



Record 11 Tuesday 27 October 2015



กิจกรรมที่ 1    
     ดอกไม้ พับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 กลีบ หลังจากนั้นนำลงน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วสังกตว่าของใครจะจมน้ำก่อน เพราะอะไร และมีลักษณะดอกเป็นอย่างไร โดยมีหนึ่งคนคอยจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการทดลองหลังจากนำดอกไม้ลอยน้ำแล้ว ปรากฏว่าเพื่อนที่ทำดอกไม้กลีบใหญ่เมื่อวางลงบนน้ำจะบานก่อนดอกไม้ของเพื่อนคนอื่นและเมื่อลอยนานๆสีที่ดอกไม้ก็จะค่อยๆละลายไปกับน้ำ
 


กิจกรรมที่ 2  
ทดลองโดยใช้ขวดน้ำอัดลม เจาะรู 3 รู  เติมน้ำให้เต็มขวด แล้วให้สังกตว่า รูไหนน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลสุด
           สรุปว่าหลังจากเติมน้ำเสร็จแล้ว รูที่อยู่ตรงกลางน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลที่สุด เพราะว่ามีแรงดันมากกว่ารูอื่น
 
 
 
 
 


 


กิจกรรมที่ 3 
        ลูกยางกระดาษ  ใช้กระดาษคริปหนีบกระดาษตัดกระดาษเป็นสองแฉกพับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐานแล้วทดลองโยนถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดีแต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน
 
 
 

 
 
 
 


 กิจกรรมที่ 4 
            ไหมพรมเต้นระบำ  ทดลองโดยใช้หลอดไหมพรม ตัดหลอดครึ่งหนึ่งแลวร้อยไหมพรม หลังจากนั้นเป่าไหมพรมสุดแรงก็จะเคลื่อนที่ และยิ่งเป่าแรงเท่าไรไหมพรมก็จะเต้นแรงเท่านั้น


 
 
 
 
 

กิจกรรมที่ 5  
          เทียนไข  ใช้แก้ว เทียนไข ถ้วย ไม้ขีด ทดลองโดยจุดเทียน  เทียนไขเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟจะค่อยหรี่ลงๆจนในที่สุดเทียนไขจะดับก็เพราะในอากาศมีออกซิเจนอยู่ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไปเทียนไขจะสามารถ ส่องสว่างต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่งจนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมดเทียนไข ก็จะดับลงทันที

       ครั้งที่สองจุดเทียนแล้วเทน้ำรอบๆเทียน หลังจากนั้นนำแก้วไปครอบ แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ปรากฏว่าเทียนก็จะค่อยๆดับแล้วน้ำก็จะเข้าไปในแก้ว เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ)จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้วความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่า



Skills 

1. ทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์
2. คิด-วิเคราะห์ สังเคราะห์ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking
3. ระดมความคิดการเขียนแผนการสอนการทดลอง และ การทำ Cooking
4. ทักษะการสังเกต
5 ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดภายในกลุ่ม
 
 
 
Apply
สามารถนำการทดลอง หรือ ของเล่นวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้และนำมาสอนเด็กในชีวิตประจำวันได้

Teaching Techniques 

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การวิเคาระห์ - สังเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
5. วิเคราะห์แผนการสอน


Evaluation

Teacher  :: เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจได้ง่าย
Friends  :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน ต้้งใจเรียน


Record 10 Tuesday 20 October 2015

Knowledge 

นำเสนอ วิจัย
นางสาวปรางชมพู บุญชม  
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

            วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคนการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่องทั้งทักษะการสังเกตการจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์

นางสาวชนากานต์ แสนสุข
 เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสาตร์
  1. ครูเล่านิทาน เล่นริมน้ำและให้เด็กผลัดกันออกมาเล่าประสบการณ์เดิม

  2. ครูแบ่งกลุ่มเด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพุ เปิดขวดแชมพูใส่น้ำให้เต็ม โดยการตั้งคำถาม เช่น ลักษณะของขวดเป็นอย่างไร  จากนั้นให้เด็กเรียงแถว แล้วบีบขวดจนน้ำในขวดหมด โดยสามารถเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากการบีบขวดโดยการตั้งเกณฑ์ ว่าใครบีบได้ไกลและใกล้ 
เลขที่ 21 นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์

            เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

สรุปได้ว่า

ปัญหา : วิจัยวิทยาศาสตร์ส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณของเด็ก
ความหมาย/ความคำสำคัญ : เพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยการจำแนกหลายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล การประเมินค่า
ประชากร : เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี
กลุ่มตัวอย่าง: เด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน

กรอบแนวคิดการวิจัย

 



ระดมความคิดในการทำ  Cooking ซึ่งกลุ่มพวกเราได้รับมอบหมายให้ทำ "ขนมโค"
 
 
 
 
 
Skill

-นำเสนองานวิจัย
-การวิเคราะห์ สังเคราะห์ แผนการสอนในงานวิจัย
-การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่มในการทำ Cooking


Apply

นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques

การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
- การอธิบาย ยกตัวอย่างกิจกรรม
- วิเคราะห์แผนการสอน
-ระดมความคิดกับเพื่อนในห้อง



Evaluation

Teacher   
             -เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends
             -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self 
            -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน

Record 9 Tuesday 13 October 2015

Knowledge 
นำเสนอบทความ
สุทธิกานต์ กางพาพันธ์ นำเสนอเรื่อง:โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาสตร์น้อย 2556 "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"
จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และองค์กรเครือข่ายต่างๆ สสวท. ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ ความคิดและลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย 
กิจกรรมในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมกันหาคำตอบจาดคำถามที่ว่า
"โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร"


เจนจิรา เทียมนิล นำเสนอเรื่อง:สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
      สรุปได้ว่า: การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเเองได้เพราะมีแรง แต่คนเรามองไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแรงแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก และไม่ดูดวัตถุที่ไม่เป็นโลหะ เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว


นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค
ว่ามีความแตกต่างจาดจากเซ็คของเรายังไง และอธิบายหลักวิทยาศาสตร์ในการเล่นของเล่น

Skill (ทักษะ) : การวิเคราะห์ , สังเคราะห์ ความรู้
Adoption (การนำไปใช้) : การคิดไอเดียใหม่ๆ ในการประดิษฐ์ของเล่น
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): ใช้คำถามให้คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง
Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง มาเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน ตั้งใจเรียนให้ความคิดเห็นได้ดี
อาจารย์ อธิบายให้ความรู้ได้ละเอียดและชัดเจน
ห้องเรียน  สะอาดเรียบร้อยดี

Record 8 Tuesday 6 October 2015

นำเสนอโทรทัศน์ครู (นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น   เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร)

          กระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง
ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
                     โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง
 
ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ 
โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
                    โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น
 
ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์ 
                      ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้
 
ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ
                     โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง



(นางสาววัชรี วงศ์สะอาด เรื่องวัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว  
จากข่าว  Family News Today)


           ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย


(นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านวิทยาศาสตร์น้อย)
             บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตเเละคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกอยู่ในทุกๆวัน ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้



การทำงานกลุ่ม

ได้สาระที่ควรรู้คือ ธรรมชาตรอบตัวเด็ก หน่วยการเรียนรู้คือ ร่างกาย

Record 7 Tuesday 22 September 2015

ประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์  เรื่อง อากาศ
 
 
รถแรงดัน

อุปกรณ์

1.       ขวดน้ำพลาสติก

2.       ฝาขวดน้ำพลาสติก

3.       ลูกโป่ง

4.       หนังยาง

5.       หลอดน้ำ

6.       ดินน้ำมัน

7.       ไม้เสียบ

 

ขั้นตอนการทำ

1.       เริ่มจากเตรียมอุปกรณ์การนำขวดน้ำพลาสติกไปล้างให้สะอาด




 

2.       เจาะรูฝาขวดน้ำ



 

3.       นำฝาขวดน้ำที่เจาะรูเรียบร้อยแล้วมาประกอบเข้ากับหลอดดูดน้ำ และยึดติดให้เข้ากันด้วยดินน้ำมัน

 
 


4.       นำลูกโป่งมาติดกับหลอดโดยการใช้หนังยางรัดไว้



 

5.       ประกอบลูกโป่งและล้อรถยึดติดเข้ากับขวดน้ำที่เตรียมไว้ ดังรูป

 


 

วิธีการเล่น

1.       เป่าลมผ่านหลอดให้เข้าไปยังลูกโป่ง

2.       เมื่อลูกโป่งพองตัวรถก็จะสามารถเคลื่อนที่ได้

 

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

                แรงดันอากาศทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ รถประดิษฐ์ชิ้นนี้ใช้พลังการขับเคลื่อนจากแรงดันอากาศ โดยการขับเคลื่อนของวัตถุจะอยู่ในทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศที่ปล่อยออกมา ดังนั้นถ้าไม่มีแรงดันของอากาศที่ปล่อยออกมาจากลูกโป่ง วัตถุก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

 
 

Skill (ทักษะ) : งานฝีมือในการประดิษฐ์

Adoption (การนำไปใช้) : นำไปใช้สอนวิทยาศษสตร์สอดแทรกไปกับการเล่นของเล่นเพื่อที่เด็กได้เข้าใจในเรื่องวิทยศาสตร์ได้มากขึ้นเห็นภาพจริง

Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): ใช้คำถามให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

Evaluation  (การประเมิน) : 
ตัวเอง เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมสื่อของเล่นมาเรียบร้อยในการพรีเซ้นงาน
เพื่อน ตั้งใจในการฟังเพื่อนนำเสนอผลงานดี
อาจารย์ มาสอนตรงเวลา พูดจาไพเราะ
ห้องเรียน เรียบร้อยดี